โครงการพัฒนาสุขภาวะความปลอดภัยและอาชีวอนามัยผู้หญิงทอผ้า จังหวัดสุรินทร์

ความเครียด เนื่องจากเงินไม่พอใช้จ่ายและมีหนี้สิน 4)ปัญหาด้านการจัดการสภาพแวดล้อมบริเวณที่ทำงานทอผ้าและการกำจัดขยะเคมี ดังนั้นทำงานที่ผ่านมา จึงเน้นกระบวนการทำงานบนฐานองค์ความรู้ที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์ปัญหาในข้างต้น เช่น การสร้างทีมแกนนำคนทอผ้าให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบอกเสียงรณรงค์สร้าง สื่อสารความเข้าใจ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงบวก ทั้งด้านอันตรายจากสารเคมีและความปลอดภัยในการทำงานทอผ้า ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจ หาทางเลือกในการผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น แม้โครงการจะเริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในหลายด้าน แต่การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในหมู่แกนนำที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการอย่างสม่ำเสมอ ขณะที่งานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นงานที่ยาก ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างทั้งที่เป็นปัจจัยภายนอกและภายในของแต่ละบุคคล จึงถือว่าเป็นความท้าทายของการต่อยอดและพัฒนาการทำงานให้เกิดความต่อเนื่อง ในอีก 18 เดือนข้างหน้า (กันยายน 2559-กุมภาพันธ์ 2561) โดยเป้าหมายหลักในโครงการ ยังคงเน้นให้คนทอผ้าในพื้นที่เป้าหมายมีสุขภาพดี มีความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนมีกลุ่มการผลิตที่เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้