โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมบนฐานความเป็นธรรมทางเพศ

ซึ่งมาจากฐานชาวบ้านในชุมชน ยังต้องการการเพิ่มทักษะการสื่อสารหรือเป็นกระบวนกรในเรื่องเพศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถเผยแพร่และขยายผลงานป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์ไม่พร้อมไปยังชุมชนอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีช่างว่างที่สำคัญอีกหนึ่งประการคือ แม้ประเทศไทยจะมี พรบ. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 แล้ว และกระทรวงสาธารสุข ตลอดจนหน่วยงานในพื้นที่เองก็มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในเรื่องการตั้งครรภ์วัยรุ่น การยุติการตั้งครรภ์ ฯลฯ แต่การดำเนินโครงการร่วมกับผู้ให้บริการในพื้นที่จริงระยะที่ผ่านมา พบว่าหน่วยงานกำกับดูแลระดับจังหวัด และหน่วยให้บริการสุขภาพในระดับพื้นที่ ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานหรือแนวปฏิบัติในการให้บริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่มีความชัดเจน

ขณะที่ในการดำเนินโครงการระยะที่ผ่านมา โรงพยาบาลชุมชน 2 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ โรงพยาบาลรัตภูมิ และโรงพยาบาลสทิงพระ ได้มีการพัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมขึ้นสำหรับใช้ในโรงพยาบาลของตนเอง โดยเป็นแนวปฏิบัติที่เกิดจากการระดมความคิดเห็นและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารโรงพยาบาลเอง ทำให้แนวปฏิบัติดังกล่าวมีความสอดคล้องเหมาะสมกับระบบการทำงานของแต่ละโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม แนวปฏิบัติของทั้ง 2 โรงพยาบาลดังกล่าว ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จำเป็นต้องมีการทบทวน ประเมินจุดแข็งจุดอ่อน และปรับปรุงคุณภาพเพื่อการบริการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน แนวปฏิบัติของทั้ง 2 โรงพยาบาลยังเป็นเพียงแนวปฏิบัติเฉพาะของหน่วยงาน ซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาให้เป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานต้นแบบ ที่จะสามารถนำไปปรับใช้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ได้ในอนาคต โดยโครงการในระยะ 18 เดือนข้างหน้านี้ (1 กันยายน 2559 – 28 กุมภาพันธ์ 2561) มีเป้าหมายหลักคือ จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดต้นแบบในการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมบนฐานความเป็นธรรมทางเพศ